วิศวกรรมเครื่องกลเป็นศาสตร์ที่ครอบคลุมพื้นฐานของวิศวกรรมหลายแขนง ประกอบด้วยความรู้ทางทฤษฎีและการประยุกต์ เกี่ยวกับ ของแข็ง ของไหล ก๊าซ ความร้อน และกลไก ในระบบต่างๆ เช่นเครื่องจักรกล เครื่องยนต์ กระบวนการผลิต การออกแบบ พลังงานรูปแบบต่างๆ การทำความเย็นและปรับอากาศ เป็นต้น ดังนั้นวิศวกรเครื่องกล จึงมีบทบาทหลักในการออกแบบ พัฒนา และผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ ให้มีความปลอดภัย มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพสูงสุด 

ข้อมูลทั่วไปของหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564

รหัสหลักสูตร 25490101103829
ภาษาไทย : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Engineering Program in Mechanical Engineering
ภาษาไทย ชื่อเต็ม : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเครื่องกล)
ชื่อย่อ : วศ.บ. (วิศวกรรมเครื่องกล)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Bachelor of Engineering (Mechanical Engineering)
ชื่อย่อ : B.Eng. (Mechanical Engineering)
วิชาเอก : ไม่มี
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
140 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร : หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ หลักสูตร 4 ปี

ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะและคุณธรรม ซึ่งสามารถปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมเครื่องกลได้อย่างถูกต้อง ตามมาตรฐานการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล โดยจัดการเรียนการสอนตามแนวทาง Conceive design implement and operating หรือ CDIO (CDIO-based education framework) ใช้โจทย์จากภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมในประเทศ โดยเน้นภาคใต้เป็นหลักหรือโจทย์จากงานระบบรางมาเป็นฐานในการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาและบูรณาการความรู้เชิงทฤษฎีและทักษะทางวิชาชีพจากการฝึกปฏิบัติ (Work integrated learning: WIL

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
สร้างบัณฑิตที่มีความสามารถตามผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program learning outcomes, PLOs) ดังนี้

  1. เคารพกติกาของสังคม มีความซื่อสัตย์ในวิชาชีพ มีความรับผิดชอบ และถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
  2. ประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิศวกรรมเครื่องกลเพื่อตอบสนองต่อความต้องการเทคโนโลยีเครื่องจักรกลของภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมในภาคใต้หรืองานระบบราง
    1. อธิบายความรู้ทางวิศวกรรมเครื่องกลได้อย่างถูกต้อง
    2. ประยุกต์ความรู้ทางวิศวกรรมเครื่องกลในการแก้ไขปัญหาทางเทคโนโลยีเครื่องจักรกลที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมในภาคใต้หรืองานระบบราง
  3. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศค้นคว้าความรู้ได้อย่างมีวิจารณญาณและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
  4. มีความเป็นผู้นำ กล้าแสดงออก และสามารถทำงานเป็นทีมบนบริบทของสังคมพหุวัฒนธรรม
  5. สามารถวิเคราะห์และสรุปเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อการแก้ปัญหาและการตัดสินใจในเชิงวิศวกรรมได้

ข้อมูลหลักสูตร ปรับปรุง 2564

ข้อมูลหลักสูตร ปรับปรุง 2559

 

ข้อมูลเผยแพร่ตามเกณฑ์ AUN-QA

1. ชื่อสถาบัน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

2. วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา วิทยาเขตหาดใหญ่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและเมคาทรอนิกส์

3. รหัสและชื่อหลักสูตร
รหัสหลักสูตร 25490101103829
ภาษาไทย : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Engineering Program in Mechanical Engineering

4. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย ชื่อเต็ม : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเครื่องกล)
ชื่อย่อ : วศ.บ. (วิศวกรรมเครื่องกล)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Bachelor of Engineering (Mechanical Engineering)
ชื่อย่อ : B.Eng. (Mechanical Engineering)

5. วิชาเอก (ไม่มี)

6. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 140 หน่วยกิต

7. รูปแบบของหลักสูตร
รูปแบบหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ หลักสูตร 4 ปี
ภาษาที่ใช้ หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
การรับนักศึกษา รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ
ความร่วมมือกับหน่วยงาน/สถาบันอื่น เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ
การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

8. สถานะภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564 เป็นหลักสูตรที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 และการประบปรุงหลักสูตรครั้งนี้ปรับปรุงมาจากหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายวิชาการ ในคราวประชุมครั้งที่ 18 (9/2563) เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ได้รับความเห็นชอบและอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 418 (1/2564) เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2564 และได้รับการรับรองจากองค์กรวิชาชีพหรือสภาวิชาชีพ.................. ในคราวประชุมครั้งที่......................... เมื่อวันที่ ..................................................................... (ระบุกรณีหลักสูตรที่มีสภาวิชาชีพ)
ทั้งนี้หลักสูตรเริ่มเปิดสอนภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564

9. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรหรือคณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตร
แต่งตั้งกรรมการร่างหลักสูตร me2564

10. เอกสารความเห็นชอบและอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย

11. เอกสารรับรองปริญญาจากสภาวิศวกร

12. ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร
PLO1: เคารพกติกาของสังคม มีความซื่อสัตย์ในวิชาชีพ มีความรับผิดชอบ และถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
PLO2: ประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิศวกรรมเครื่องกลเพื่อตอบสนองต่อความต้องการเทคโนโลยีเครื่องจักรกลของภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมในภาคใต้หรืองานระบบราง
       2.1 อธิบายความรู้ทางวิศวกรรมเครื่องกลได้อย่างถูกต้อง
       2.2 ประยุกต์ความรู้ทางวิศวกรรมเครื่องกลในการแก้ไขปัญหาทางเทคโนโลยีเครื่องจักรกลที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมในภาคใต้หรืองานระบบราง
PLO3: สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศค้นคว้าความรู้ได้อย่างมีวิจารณญาณและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
PLO4: มีความเป็นผู้นำ กล้าแสดงออก และสามารถทำงานเป็นทีมบนบริบทของสังคมพหุวัฒนธรรม
PLO5: สามารถวิเคราะห์และสรุปเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อการแก้ปัญหาและการตัดสินใจในเชิงวิศวกรรมได้ 

13. เกณฑ์การรับเข้า
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา ปี 2567 (กรุณาตรวจสอบข้อมูลที่เป็นปัจจุบันจากเว็บไซต์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ. www.eng.psu.ac.th )
1) ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายในแผนการเรียนของวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ หรือเทียบเท่า
2) ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และหรือเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของการคัดเลือกของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หรือ
3) ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์การคัดเลือกภายใต้โครงการพิเศษรับนักศึกษา ซึ่งจัดโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ในแต่ละปีทางคณะจะมีการรับนักศึกษาทั้งหมด 4 รอบ ตาม TCAS ประกอบด้วยรอบที่1 Portfolio รอบที่ 2 Quota รอบที่ 3 Admission และรอบที่ 4 Direct admission สำหรับปีการศึกษา 2566 คณะมีเกณฑ์การรับและโครงการรับย่อยที่แตกต่างกันตามแต่ละรอบ ดังนี้
TCAS รอบที่ 1 Portfolio
ในการรับรอบที่ 1 คือการรับนักศึกษาโดยพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) คะแนนเฉลี่ยสะสมรวม (GPAX) 5 ภาคการศึกษา และการสอบสัมภาษณ์ในบางโครงการ โดยคณะกำหนดรับนักเรียนผ่านโครงการย่อย ดังนี้
1.1 โครงการภายใต้มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย
- โครงการรับนักเรียนที่มีผลการเรียนดี
- โครงการส่งเสริมผู้มีคุณธรรม จริยธรรม บำเพ็ญประโยชน์ช่วยเหลือสังคม
- โครงการรับผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ
1.2 โครงการภายใต้คณะ ประกอบด้วย
- โครงการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมและการจัดการนวัตกรรม (หลักสูตรนานาชาติ)
- โครงการโควตาวิศวกรรมศาสตร์ มอ.
- โครงการลูกพระราชบิดา
- โครงการทุนมงคลสุข
- โครงการโควตาพิเศษ (รับนักศึกษา ปวช.)
TCAS รอบที่ 2 Quota
ในการรับรอบที่ 2 การรับนักศึกษาตามโควตา คือการรับเข้าศึกษาเฉพาะนักเรียนใน 14 จังหวัดภาคใต้ โดยมีการพิจารณาจากคะแนนสอบส่วนกลางเพิ่มเติมจากรอบที่ 1 เช่น คะแนนกลุ่มวิชาสามัญ และบางโครงการยังมีการสอบสัมภาษณ์ โครงการย่อยในรอบที่ 2 มีดังนี้
- โครงการรับตรง 14 จังหวัดภาคใต้
- โครงการรับผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ
- โครงการ สอวน.
- โครงการ วมว.
- โครงการคัดเลือกผู้มีความสามารถด้านกีฬา
TCAS รอบที่ 3 Admission
การรับนักศึกษารอบที่ 3 คือ การรับเข้าศึกษาบุคคลทั่วไป โดยมีการพิจารณาผลคะแนนสอบกลาง GAT และ PAT และ/หรือกลุ่มวิชาสามัญ ซึ่งในรอบนี้ไม่มีโครงการย่อย
TCAS รอบที่ 4 การรับนักศึกษาแบบรับตรง Direct Admission
การรับนักศึกษารอบที่ 4 คือ การรับนักศึกษาแบบรับตรง โดยเป็นการรับรอบสุดท้ายของคณะ จำนวนรับในรอบนี้จะถูกกำหนดไว้น้อยกว่ารอบอื่นๆ เนื่องจากเพื่อสำรองสำหรับผู้พ้นสภาพการศึกษาในปีก่อนหน้าหรือนักศึกษาที่ยังไม่ได้สถานศึกษา อย่างไรก็เพื่อให้ได้มาตรฐานในการรับเข้าทางคณะได้มีการกำหนดคุณสมัติเกรดเฉลี่ยสะสม การแนบแฟ้มสะสมผลงาน และการสอบสัมภาษณ์
(กรุณาตรวจสอบข้อมูลที่เป็นปัจจุบันจากเว็บไซต์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ. www.eng.psu.ac.th )

14.เกณฑ์การรับตรง
(กรุณาตรวจสอบข้อมูลที่เป็นปัจจุบันจากเว็บไซต์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ. www.eng.psu.ac.th )
สำหรับการรับตรงเพื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรฯ คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้จัดทำแนวทางในการประเมินนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การรับเข้าดังแสดงในรูปเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการสัมภาษณ์นักเรียนสำหรับการรับตรง หรือรับเข้าศึกษาตามโครงการพิเศษต่างๆ (ข้อมูลอาจเปลี่ยนแปลงตามนโยบายรับนักศึกษาของคณะฯ)

(กรุณาตรวจสอบข้อมูลที่เป็นปัจจุบันจากเว็บไซต์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ. www.eng.psu.ac.th )

 15. เกณฑ์การจัดสรรสาขาวิชา
(กรุณาตรวจสอบข้อมูลที่เป็นปัจจุบันจากเว็บไซต์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ. www.eng.psu.ac.th )
ในส่วนขอการจัดสรรสาขากรณีของนักศึกษาที่ยังไม่ได้เลือกสมัครเข้าสาขาตั้งแต่แรก (เลือกสาขาวิชาวิศวกรรมทั่วไป) ทางคณะฯ การกำหนดเกณฑ์จัดสรรสาขาผ่านที่ประชุมยุทธศาสตร์ 1.1 และมีกระบวนการจัดสรรสาขาให้กับนักศึกษาหลังจากรับรองเกรดสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 (รอบเดียว) โดยกําหนดหลักเกณฑ์การเลือก และการจัดสรรสาขาวิชาเรียน ดังนี้ (เอกสารประกาศตามลิงค์ http://infor.eng.psu.ac.th/AllotDept/)
1. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ได้รับการจัดสรรสาขาวิชาเรียน เป็นนักศึกษาที่ยังไม่ได้สังกัดสาขาวิชาใด และลงทะเบียน เรียนครบ 1 ภาคการศึกษา โดยลงทะเบียนเรียนตามแผนการศึกษา จํานวน 8 รายวิชา/20 หน่วยกิต
2. การแจ้งความจํานงเลือกสาขาวิชาเรียน
- ผู้ที่มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ข้อ1. ให้ยื่นความจํานงเลือกสาขาวิชาเรียนผ่านระบบ จัดสรรสาขา หรือผ่าน หรือผ่าน Mobile App "intaniaBuddy" ตามกําหนดการประกาศของคณะวิศวกรรมศาสตร์
3. การจัดสรรสาขาวิชาเรียน
3.1. คณะวิศวกรรมศาสตร์ จะจัดสรรสาขาวิชาเรียนให้กับนักศึกษาที่มีคุณสมบัติตามข้อ 1. เมื่อจบภาคการศึกษาที่ 1 ของชั้นปีที่ 1
3.2. คณะวิศวกรรมศาสตร์ จะจัดสรรสาขาวิชาเรียน โดยยึดถือแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยที่คํานวณจาก รายวิชา จํานวน 8 รายวิชา
3.3. ในกรณีที่นักศึกษาไม่ได้เรียงลําดับของสาขาวิชาที่เลือกจะเรียนตามลําดับให้ครบถ้วน หรือไม่ได้ยื่นแบบฟอร์ม แจ้งความจํานงเลือกสาขาวิชาเรียน (กรณีนักศึกษาสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยได้ใหม่) ภายในระยะเวลาที่กําหนด จะถือว่าได้มอบ สิทธิ์ในการเรียงลําดับที่ของสาขาวิชาเรียนทั้งหมด หรือที่เหลืออยู่ให้แก่คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จะจัดสรรสาขาวิชาเรียนให้ตามที่พิจารณาเห็นว่าเหมาะสม
3.4. ในปีการศึกษาใด ถ้าปรากฏว่ามีผู้ที่แสดงความจํานงเลือกสาขาวิชาเรียนบางราย ไม่ได้รับการจัดสรรสาขาวิชา เรียน ซึ่งเป็นผลมาจากความล่าช้าในการวัดและประเมินผลการเรียน คณะฯ จะพิจารณาจัดสรรสาขาวิชาเรียนแก่นักศึกษานั้น เป็นการเพิ่มเติมได้ โดยให้ยึดถือเกณฑ์การพิจารณาตามข้อ 3.2 โดยอนุโลม
3.5. ในกรณีที่มีนักศึกษาเลือกสาขาวิชาเรียนเดียวกันในลําดับสุดท้ายมีคะแนน (GPA) เท่ากัน คณะฯ จะพิจารณา ระดับขั้นจากผลการเรียนของรายวิชาตามลําดับเป็นรายบุคคล
เมื่อจัดสรรสาขาเป็นที่เรียบร้อยจะมีการสรุปผลให้สาขาฯทราบผ่านทางการประชุมยุทธ์ 1.1 และการประชุมกรรมการคณะและให้นักศึกษาทราบผ่านช่องทางเว็บเพจ https://www.eng.psu.ac.th/academic-support-service/undergraduated/allot-dept
(กรุณาตรวจสอบข้อมูลที่เป็นปัจจุบันจากเว็บไซต์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ. www.eng.psu.ac.th )