วิศวกรรมเครื่องกลเป็นศาสตร์ที่ครอบคลุมพื้นฐานของวิศวกรรมหลายแขนง ประกอบด้วยความรู้ทางทฤษฎีและการประยุกต์ เกี่ยวกับ ของแข็ง ของไหล ก๊าซ ความร้อน และกลไก ในระบบต่างๆ เช่นเครื่องจักรกล เครื่องยนต์ กระบวนการผลิต การออกแบบ พลังงานรูปแบบต่างๆ การทำความเย็นและปรับอากาศ เป็นต้น ดังนั้นวิศวกรเครื่องกล จึงมีบทบาทหลักในการออกแบบ พัฒนา และผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ ให้มีความปลอดภัย มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพสูงสุด 

ข้อมูลทั่วไปของหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564

รหัสหลักสูตร 25490101103829
ภาษาไทย : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Engineering Program in Mechanical Engineering
ภาษาไทย ชื่อเต็ม : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเครื่องกล)
ชื่อย่อ : วศ.บ. (วิศวกรรมเครื่องกล)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Bachelor of Engineering (Mechanical Engineering)
ชื่อย่อ : B.Eng. (Mechanical Engineering)
วิชาเอก : ไม่มี
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
140 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร : หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ หลักสูตร 4 ปี

ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะและคุณธรรม ซึ่งสามารถปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมเครื่องกลได้อย่างถูกต้อง ตามมาตรฐานการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล โดยจัดการเรียนการสอนตามแนวทาง Conceive design implement and operating หรือ CDIO (CDIO-based education framework) ใช้โจทย์จากภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมในประเทศ โดยเน้นภาคใต้เป็นหลักหรือโจทย์จากงานระบบรางมาเป็นฐานในการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาและบูรณาการความรู้เชิงทฤษฎีและทักษะทางวิชาชีพจากการฝึกปฏิบัติ (Work integrated learning: WIL

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
สร้างบัณฑิตที่มีความสามารถตามผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program learning outcomes, PLOs) ดังนี้

  1. เคารพกติกาของสังคม มีความซื่อสัตย์ในวิชาชีพ มีความรับผิดชอบ และถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
  2. ประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิศวกรรมเครื่องกลเพื่อตอบสนองต่อความต้องการเทคโนโลยีเครื่องจักรกลของภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมในภาคใต้หรืองานระบบราง
    1. อธิบายความรู้ทางวิศวกรรมเครื่องกลได้อย่างถูกต้อง
    2. ประยุกต์ความรู้ทางวิศวกรรมเครื่องกลในการแก้ไขปัญหาทางเทคโนโลยีเครื่องจักรกลที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมในภาคใต้หรืองานระบบราง
  3. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศค้นคว้าความรู้ได้อย่างมีวิจารณญาณและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
  4. มีความเป็นผู้นำ กล้าแสดงออก และสามารถทำงานเป็นทีมบนบริบทของสังคมพหุวัฒนธรรม
  5. สามารถวิเคราะห์และสรุปเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อการแก้ปัญหาและการตัดสินใจในเชิงวิศวกรรมได้

ข้อมูลหลักสูตร ปรับปรุง 2564

ข้อมูลหลักสูตร ปรับปรุง 2559